กฎหมายรถใหญ่สำคัญๆ ที่ผู้เกี่ยวข้องควรรู้

รูปหน้าปก บริษัท แม็กซ์เครน แมชชีนเนอรี่ จำกัด

แม้ “เครน” หรือ “ปั้นจั่น” จะถูกจัดให้เป็นเครื่องจักรกลที่ใช้ในการช่วยทุ่นแรงในอุตสาหกรรมต่างๆ แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะของไทย ได้จัดหมวดหมู่ให้เครนอยู่ในกลุ่มรถใหญ่ เช่นเดียวกับรถบรรทุก ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องในการใช้งานเครน จึงควรศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมายรถบรรทุก กฎหมายเครน เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุหรือสูญเสียเงินจากการถูกปรับเนื่องจากไม่รู้ข้อกฎหมาย

กฎหมายรถบรรทุกที่ควรรู้

กฎหมายรถบรรทุกที่ควรรู้มีดังต่อไปนี้

    น้ำหนักรถบรรทุก
  • รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 9.5 ตัน
  • รถบรรทุกขนาด 6 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 15 ตัน
  • รถบบรรทุกขนาด 10 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 25 ตัน
  • รถพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 50.5 ตัน

หากผู้ขับขี่ฝ่าฝืน จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจถูกยึดรถบรรทุกด้วย

รถบรรทุกฟูโซ่ แม็กซ์เครน

เวลาวิ่งรถบรรทุก

ถนนพื้นราบ

  • รถบรรทุกขนก๊าส วัตถุอันตราย ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปและรถพ่วง
    ห้ามวิ่งเวลา 06:00-22.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์
  • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป
    ห้ามวิ่งเวลา
    06:00-09.00 น. และ 16:00-20:00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
  • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป
    ห้ามวิ่งเวลา 06:00-10.00 น. และ 15:00-21:00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
  • รถบรรทุกอื่นๆ
    ห้ามวิ่งเวลา 06:00-22.00 น.

ทางด่วน

  • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป
    ห้ามวิ่งเวลา 06:00-09.00 น. และ 16:00-20:00 น.
  • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป
    ห้ามวิ่งเวลา
    06:00-09.00 น. และ 15:00-21:00 น.
  • รถบรรทุกสารเคมี
    ห้ามวิ่งเวลา 06:00-09.00 น. และ 15:00-21:00 น.

ทั้งนี้ กฎหมายรถบรรทุกได้กำหนดไว้ว่าให้รถบรรทุกที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กก. สามารถวิ่งในเขตกรุงเทพฯ ได้ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา

กฎหมายเครนที่ควรรู้

กฎหมายเครนที่นายจ้างและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับเครนควรรู้มีดังต่อไปนี้

  • ใช้เครนปฏิบัติงานตามประเภทของเครนและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกําหนดไว้
  • ห้ามดัดแปลงหรือแก้ไขส่วนใดสวนหนึ่งของเครนที่อาจทําให้ลูกจ้างมีความปลอดภัยน้อยลง
  • ติดป้ายบอกพิกัดนํ้าหนักยกไว้ที่เครน ปิดคําเตือนให้ระวังอันตราย และติดตั้งสัญญาณเตือนอันตรายให้ผู้บังคับเครนเห็นได้ชัดเจน
  • จัดให้มีการให้สัญญาณการใช้เครนที่เข้าใจในกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง หากเป็นสัญญาณมือ ให้จัดทำรูปภาพหรือคู่มือการใช้สัญญาณมือติดไว้ที่เครนและพื้นที่ทำงาน
  • จัดทําเครื่องหมายแสดงเขตอันตรายในรัศมีส่วนรอบของเครนที่หมุนกวาดระหว่างทํางาน เพื่อเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
  • นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย อาทิ หมวกแข็ง ถุงมือ รองเท้าหัวโลหะ ให้ผู้เกี่ยวข้องใช้ขณะปฏิบัติงานเครน
  • ติดตั้งบันได พร้อมราวจับและโครงโลหะกันตกบนเครนที่มีความสูงเกิน 3 ม.
  • ตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์เครนทุกๆ สามเดือน ตามที่กรมแรงงานกำหนด โดยต้องบันทึกทั้งเวลาตรวจสอบและผลการตรวจสอบ และต้องมีวิศวกรเป็นผู้รับรอง
  • ห้ามนำเครนที่ชำรุดเสียหายหรืออยู่ในสภาพไม่ปลอดภัยไปปฏิบัติงาน
  • หากใช้เครนปฏิบัติงานในช่วงเวลากลางคืน ให้จัดให้มีแสงสว่างทั่วบริเวณตลอดการทำงาน

เพราะชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและไม่อาจประเมินค่าเป็นตัวเงินได้หากเกิดความสูญเสีย ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ยานพาหนะมีความเสี่ยงสูง เช่น พนักงานขับรถบรรทุก ผู้บังคับเครน ผู้ให้สัญญาณเครน รวมถึงนายจ้าง จึงควรศึกษากฎหมายรถบรรทุกและกฎหมายเครนและนำไปปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสการเกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินให้ได้มากที่สุด