ใช้รถเครนอย่างไรให้ปลอดภัย

‘รถเครน’ หรือที่คนไทยเรียกว่า ‘ปั้นจั่น’ เป็นเครื่องจักรเฉพาะทางที่ใช้สำหรับช่วยยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก และเนื่องจากมีขนาดใหญ่ หากใช้งานอย่างไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักรกลประเภทนี้จึงควรศึกษาคู่มือการใช้เครนให้ละเอียดถี่ถ้วน มาดูกันว่าคู่มือการใช้เครนสำคัญๆ ที่ควรรู้มีอะไรบ้าง

รู้จักเครนและหลักการทำงานเครน

ประเภทของรถเครน

เรามักจะพบเห็นการใช้รถเครนในหลายๆ ประเภทธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้าง งานอุตสาหกรรม งานขนส่ง และงานเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ โดยเราสามารถแบ่งเครนออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่

  1. เครนชนิดอยู่กับที่ (Stationary Crane) คือ เครนที่มีอุปกรณ์ควบคุมที่ติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง
  2. เครนชนิดเคลื่อนที่ได้ (Mobile Crane) คือ เครนที่มีอุปกรณ์ควบคุมที่ติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้ง หรือบนล้อเลื่อน

ส่วนประกอบหลักของเครน

  1. แขนบูม
  2. กว้าน
  3. ขายันพื้น
  4. น้ำหนักถ่วง
  5. ลวดสลิงเครน
  6. ตะขอ

หลักการทำงานเครน

เครนเกิดจากการผสมผสานเครื่องกลอย่างง่ายเข้าด้วยกันเพื่อใช้ยกหรือเคลื่อนย้ายวัตุที่มีน้ำหนักมาก โดยมีหลักการทำงานคือเครนจะยกวัตถุขึ้น-ลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายวัตถุเหล่านั้นไปตามแนวราบ 

เครื่องกลที่ถูกนำมาใช้ได้แก่ ‘คาน’ เมื่อคานรับน้ำหนักอยู่ในจุดที่สมดุลย์ จะทำให้เครนสามารถยกของที่มีน้ำหนักมากโดยใช้แรงเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนั้น เครนยังใช้ ‘รอก’ อุปกรณ์ ช่วยเคลื่อนย้ายสิ่งของขึ้น-ลงจากที่สูงด้วย สำหรับเครนหอสูงหรือ Tower Crane จะใช้รอกมากกว่า 1 ตัว เพื่อช่วยเพิ่มแรงในการยกวัตถุที่มีน้ำหนักมากได้ง่ายขึ้น 

ไม่น่าเชื่อว่าเพียงนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับเครื่องกลอย่างง่ายอย่างเครนและรอกนี้ จะทำให้เครนสามารถยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของหนักๆ ได้อย่างสบายๆ สำหรับเครนขนาดใหญ่ สามารถยกของที่มีน้ำหนักมากถึงราว 18,000 กิโลกรัม ช่วยทุ่นแรงและเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานให้กับมนุษย์ได้อย่างมหาศาล

วิธีตรวจสอบเครน

ก่อนเริ่มใช้งานรถเครนทุกครั้ง นอกจากผู้ควบคุมรถเครนจะต้องมีสุขภาพแข็งแรงและพักผ่อนอย่างเพียงพอแล้ว ยังจะต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของรถเครนและระบบต่างๆ อย่างถี่ถ้วน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นขณะปฎิบัติงาน ดังนี้
  1. ตรวจเช็คสวิตซ์เปิด-ปิดการทำงาน
  2. ตรวจเช็คสวิตซ์ที่ใช้ควบคุมการสั่งการต่างๆ ได้แก่
    • สวิตซ์เดินหน้า
    • สวิตซ์ถอยหลัง
    • สวิตซ์ยกขึ้น
    • สวิตซ์ยกลง
    • สวิตซ์ระบบเบรก
    • สวิตซ์ระบบเสียงสัญญาณ
    • สวิตซ์ระบบสายพาน

สัญญาณมือเครนสากลที่ควรรู้

ขณะปฏิบัติงาน หน้างานอาจมีความวุ่นวายและเสียงดังจากการทำงานของเครื่องจักรต่างๆ การสั่งการด้วยเสียงอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ดังนั้นผู้ควบคุมรถเครนควรเรียนรู้สัญญาณมือเครนสำคัญๆ เพื่อใช้ในการสั่งการ

  1. เดินหน้า เหยียดแขนขวาออกไปด้านหน้า ยกฝ่ามือขวาขึ้นให้อยู่ในระดับไหล่ จากนั้นทำท่าผลักในทิศทางที่ต้องการให้รถเครนเคลื่อนที่ไป
  2. หยุดยกของ เหยียดแขนซ้ายออกไปด้านข้าง โดยให้ความสูงอยู่ระดับไหล่ คว่ำฝ่ามือ แล้วเหวี่ยงไปมาเร็วๆ
  3. หยุดยกของฉุกเฉิน เหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปด้านข้าง โดยให้ความสูงอยู่ในระดับไหล่ คว่ำฝ่ามือลง แล้วเหวี่ยงไปมาเร็วๆ
  4. สั่งให้หยุดและยึดเชือกลวดทั้งหมด กำมือทั้งสองเข้าหากัน โดยให้ความสูงอยู่ในระดับเอว
  5. สั่งให้ยกของขึ้นช้าๆ ยกแขนหนึ่งข้างโดยคว่ำฝ่ามือให้อยู่ในระดับคาง จากนั้นใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งชี้ตรงกลางฝ่ามือที่คว่ำอยู่ แล้วหมุนช้าๆ
  6. ยกบูม เหยียดแขนขวาออกไปด้านข้างให้สุดแขน จากนั้นกำมือและยกหัวแม่มือขึ้น
  7. นอนบูม เหยียดแขนขวาออกไปด้านข้างให้สุดแขน จากนั้นกำมือและยกหัวแม่มือลง
  8. สวิงบูมไปด้านที่มือชี้ เหยียดแขนซ้ายหรือขวาโดยชี้ไปตามทิศทางที่ต้องการให้บูมหมุนไป
  9. ใช้รอกใหญ่ กำมือยกขึ้นเหนือศีรษะแล้วเคาะเบาๆ บนศีรษะหลายๆ ครั้ง จากนนั้นใช้สัญญาณอื่นๆ ที่ต้องการ
  10. ใช้รอกเล็ก งอข้อศอกขึ้น กำมือระดับไหล่โดยให้โย้ไปข้างหน้าเล็กน้อย จากนั้นใช้มืออีกข้างหนึ่งแตะที่ข้อศอก แล้วใวช้สัญญาณอื่นๆ ที่ต้องการ
  11. เลื่อนรอกขึ้น งอข้อศอกขึ้นให้เป็นมุมฉาก จากนั้นใช้นิ้วชี้ชี้ขึ้นแล้วหมุนเป็นวงกลม
  12. เลื่อนรอกลง กางเขนข้างใดข้างหนึ่งออกเล็กน้อย จากนั้นใช้นิ้วชี้ชี้ลงแล้วหมุนเป็นวงกลม