บริษัท แม็กซ์เครน แมชชีนเนอรี่ จำกัด(สำนักงานใหญ่)
- 888 หมู่ 9 ถนนบางนา-ตราด กม.19 ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
- โทร : 02-740-5888
วันนี้เรามาว่าด้วยเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ ไม่ได้ควบคุมเฉพาะรถยนต์ รถขนส่งสินค้าหรือรถบรรทุกต่าง ๆเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเครนติดรถบรรทุก รถเครน ที่หากมีน้ำหนักเกินตามที่กฎหมายกำหนด ก็ไม่สามารถออกมาวิ่งอยู่บนท้องถนนได้ กฎหมายเกี่ยวกับรถเครนและการควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ จึงเป็นเรื่องน่ารู้สำหรับผู้ใช้รถเครน เพื่อเป็นความรู้ไว้ถือปฎิบัติ
กฎหมายควบคุมน้ำหนักบรรทุก ของรถขนาดใหญ่ โดยทั่วไปรถยนต์ทุกประเภททิ่วิ่งอยู่ตามท้องถนน เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถกระบะ รถหกล้อ รถสิบล้อ รถพ่วง รถเทรลเลอร์ รถบรรทุก รถเฮี๊ยบ หรือเครนติดบรรทุก และอื่น ๆ จะมีกฎหมายควบคุมและให้ผู้ที่ใช้รถถือปฎิบัติ แต่เนื่องจากขนาดและลักษณะของรถยนต์แต่ละประเภท รวมถึงสภาพการใช้งานมีความแตกต่างกัน จึงทำให้ต้องมีกฎหมายควบคุมน้ำหนักออกมาบังคับใช้ รถเครน และเครนติดบรรทุก ถือเป็นรถขนาดใหญ่ ที่มีกฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนัก ดังนี้
• พ.ร.บ.จราจรทางบก 2522
กฎหมายฉบับนี้เกี่ยวข้องกับ กฎกระทรวง ประกาศของกรมที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการจราจรทาง
ถนน เป็นกฎหมายแม่ที่มีการระบุเรื่องสำคัญที่เป็นเรื่องหลักของรถขนาดใหญ่ ซึ่งรวมถึงเครนติดบรรทุก
– กฎกระทรวง ว่าด้วยความเร็วของรถได้กำหนดความเร็วของรถที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนัก
บรรทุกเกิน 1,200 กก. ให้สามารถใช้ความเร็วขณะขับในเขตกรุงเทพฯ เมืองพัทยา หรือ เขตเทศบาลได้ไม่เกิน 60 ก.ม.ต่อ ชม. หรือนอกเขตให้ได้ไม่เกิน 80 ก.ม.ต่อ ชม.
– กฎกระทรวง ว่าด้วยความสูงของการบรรทุก ที่กำหนดความสูงของรถบรรทุกซึ่งบรรทุกตู้
สำหรับบรรจุสิ่งของ ให้บรรทุกสูงได้ไม่เกิน 4.20 เมตร
– กฎกระทรวง ว่าด้วยความสูงของการบรรทุก ที่กำหนดความสูงของรถบรรทุก ให้บรรทุกสูงไม่
เกิน 3.00 เมตรจากพื้นทาง เว้นแต่รถบรรทุกที่มีความกว้างของรถ เกิน 2.30 เมตร ให้บรรทุกสูงไม่เกิน 4.00 เมตร จากพื้นทาง
• ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจร
ข้อบังคับถือเป็นกฎหมาย ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบังคับใช้โดยตรง ซึ่งข้อบังคับนี้ สามารถออกบังคับ
ใช้ได้ทั่วประเทศ หรือใช้เฉพาะท้องถิ่นก็ได้ เช่น
– ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วยการห้ามเดินรถและการห้ามจอด
รถบรรทุก ตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไปและรถพ่วง(รวมทั้งเครนติดบรรทุก หรือเฮี๊ยบ)ในเขตกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 ห้ามรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อ รถที่มีเพลาตั้งแต่ 3 เพลาขึ้นไป และรถพ่วง วิ่งรถในเขตพื้นที่ภายในของถนนวงรอบ พื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ 113 ตาราง กิโลเมตร อาทิ ถนนวงศ์สว่าง ถนนรัชดาฯ ถนนอโศก ถนนพระราม3 ถนนจรัญสนิทวงศ์ โดยอนุญาตให้วิ่งได้ระหว่างเวลา 10.00 – 15.00 น. ทุกวัน
– ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักรว่าด้วยการห้ามเดินรถ และ การห้ามจอด
รถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง(รวมทั้งเครนติดบรรทุก หรือเฮี๊ยบ) ในเขตกรุงเทพฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549 ที่กำหนดการการห้ามวิ่ง และ ห้ามจอดในถนนฉลองกรุง ตั้งแต่ทางแยกถนนฉลองกรุงตัดกับถนนสุวินทวงศ์ ถึงทางแยกถนนฉลองกรุง ตัดกับมอเตอร์เวย์ เป็นต้น
• พ.ร.บ ทางหลวง พ.ศ 2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ทางหลวง (ฉบับ 2) พ.ศ. 2549
พ.ร.บ. ทางหลวง ที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับนี้ ถือเป็นกฎหมายแม่ของการเดินรถบนทางหลวง
ต่าง ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะการกำหนดประเภทยานพาหนะและน้ำหนักบรรทุกที่อนุญาตให้วิ่งได้ ซึ่งประกาศฉบับล่าสุดคือประกาศผู้อำนวยการทางหลวง ฉบับที่ 8 ว่าด้วยการกำหนดน้ำหนักบรรทุกมีรายละเอียด ดังนี้
– รถบรรทุกขนาด 10 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 25 ตัน หรือ 25,000 กิโลกรัม
– รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกินกว่า 9.5 ตัน หรือ 9,500 กิโลกรัม
– รถบรรทุก 6 ล้อ ต้องไม่ให้เกินกว่า 15 ตัน
โดยกฎหมายรถบรรทุกยังครอบคลุมไปถึงเครนติดบรรทุก หรือเฮี๊ยบ รถบรรทุกพ่วง หรือที่เรียกว่า
รถพ่วงด้วย โดยแยกตามจำนวนล้อและเพลา เช่น
– รถพ่วงที่มี 6 เพลา ที่มี 22 ล้อ ต้องบรรทุกหนักไม่เกินกว่า 50.5 ตัน หรือ 50,500 กิโลกรัม
• โทษของการฝ่าฝืนกฎหมายรถบรรทุก
– สำหรับโทษของการฝ่าฝืนกฎหมายรถบรรทุกข้อนั้น จะเริ่มต้นการปรับที่ 1 หมื่นบาท จากนั้น
ก็จะทบเพิ่มเป็น 3 หมื่น และกำหนดโทษขั้นสูงสุด ที่ 1 แสนบาท
– ผู้ฝ่าฝืนแอบลักลอบขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยจะเรียกปรับที่บริษัทที่รับผิดชอบการขนส่งและผู้ที่เป็นลูกค้าองค์บริษัทขนส่ง หรือ ผู้ใช้บริการขนส่งรถบรรทุกเหล่านั้น รวมถึงบริษัทที่เป็นปลายทางผู้รับที่รถบรรทุกเหล่านั้นจะไปส่งสินค้าให้ด้วย
กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับรถเครนและการควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ จะเห็นว่ามีความสำคัญต่อผู้ใช้ถนน โดยเฉพาะผู้ขับรถเครน ผู้ประกอบการรถเครนให้เช่า รวมไปถึงผู้ใช้บริการรถเครนด้วย เนื่องจากกฎหมายรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งรวบถึง เครนติดบรรทุก หรือเฮี๊ยบ มีการควบคุมด้วยโทษปรับอย่างครบวงจร ตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือ ผู้จ้าง ผู้บริการขนส่งรถบรรทุก และผู้รับปลายทาง